คุณยังไม่มีสินค้าในรถเข็น
ไอเรื้อรัง (Chronic Cough) (1)
วันพุธที่ 4 กันยายน ค.ศ. 2024 10 นาฬิกา 04 นาที 06 วินาที Asia/Bangkok
ไอเรื้อรัง (Chronic Cough) (1)
"การไอ" ย่อมสร้างความรำคาญให้ใครหลาย ๆ คน แต่บางคนก็คิดว่าแค่ไอ ปล่อยไว้เดี๋ยวก็หายเอง ซึ่งหากทิ้งไว้นานวันแล้วยังมีอาการไออยู่อย่างต่อเนื่องเรื้อรังย่อมไม่ดีแน่ เพราะนั่นย่อมหมายถึงสัญญาณของการเกิดโรคต่าง ๆ ตามมามากมายได้
ชนิดของอาการไอ
1. ไอเฉียบพลัน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด ไซนัสอักเสบ คออักเสบ กล่องเสียงอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดบวม มักจะดีขึ้นภายใน 3 สัปดาห์ ในเด็กต้องระวังการสำลักแล้วไอ อาจมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในหลอดลม ถ้าสัมผัสกับสารระคายเคือง เช่น ควันบุหรี่ ควันไฟ กลิ่น สเปรย์ แก๊ส มลพิษทางอากาศ ในปัจจุบันมีฝุ่น PM 2.5 สูงทำให้ไอได้
2. ไอกึ่งเฉียบพลัน คือ มีระยะเวลาของอาการไอนานกว่า 3 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 8 สัปดาห์ ส่วนใหญ่มักเป็นเกิดการไอ จากหลอดลมมีความไวต่อการกระตุ้น หลังจากมีการติดเชื้อทางเดินหายใจ
3. ไอเรื้อรัง คือ มีระยะเวลาของอาการไอมากกว่า 8 สัปดาห์ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากโรคหอบหืด โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคภูมิแพ้ โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง ทำให้มีน้ำมูกไหลลงคอ ก็จะกระแอมไอ โรคกรดไหลย้อน การสูบบุหรี่ และที่สำคัญถ้าหาสาเหตุอื่น ๆ ไม่พบ ควรซักประวัติยาที่รับประทาน ที่มีผลทำให้ไอเรื้อรังได้ เช่น ยาลดความดันเลือดบางชนิด
การไอมีผลต่อสุขภาพ
• ปอด
- อาจมีอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ มีการอักเสบของหลอดลมมากขึ้น บวมมากขึ้น มีการฉีกขาดเกิดขึ้น
- ปอดแตกและมีลมรั่วเข้าไปในช่องเยื่อบุหุ้มปอด (Pneumothorax) อันเป็นผลจาก Barotrauma ที่เกิดกับปอดขณะไอ
• สมอง
- มีอาการหมดสติ (Cough Syncope)
• ทรวงอก
- เจ็บกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกซี่โครงหัก
• การแทรกซ้อนอื่น ๆ
- ปัสสาวะราด (Urine Incontinence)
- เสียงแหบ
- ไส้เลื่อน
- ปวดหลัง
- พักผ่อนไม่เพียงพอในผู้ที่มีอาการไอมากช่วงกลางคืน
ที่มา
www.phyathai.com
www.rama.mahidol.ac.th
www.bangkokhospital.com
เครดิตรูปภาพ
www.sanook.com
www.pobpad.com