อาหารและโภชนาการกับผู้สูงอายุ (1)

อาหารและโภชนาการที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ
   สำหรับผู้สูงอายุอาหารที่ควรรับประทานนั้นควรเป็นอาหารที่หลากหลาย แต่ให้สารอาหารครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป และควรได้รับพลังงานจากอาหารอย่างเพียงพอ วันละ 1,500 - 2,000 กิโลแคลอรี โดยแบ่งตามอาหารหลัก 5 หมู่ที่เหมาะสม ดังนี้

• โปรตีน ผู้สูงอายุต้องการสารอาหารกลุ่มนี้มากที่สุด ควรได้รับประมาณ 6 - 8 ช้อนกินข้าวต่อวัน เพราะโปรตีนเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งอาหารกลุ่มนี้จะประกอบด้วยอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ เช่น ไก่ หมู เนื้อ ปลา กุ้ง โดยเฉพาะเนื้อปลา เป็นเนื้อสัตว์ที่ดีที่สุดสำหรับผู้สูงอายุ เพราะย่อยง่าย ไขมันต่ำ รวมถึงโปรตีนจากนมเพื่อสุขภาพกระดูกที่แข็งแรง ผู้สูงอายุควรดื่มนมพร่องมันเนยวันละ 1 - 2 แก้ว (นม 1 แก้ว ขนาด 200 มล.) และควรรับประทานไข่ไก่อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 - 4 ฟอง แต่ผู้สูงอายุที่มีไขมันในเลือดสูง ควรจำกัดการรับประทานไข่แดงไม่เกินสัปดาห์ละ 3 ฟอง หรือเลือกรับประทานเฉพาะไข่ขาวเท่านั้น
• คาร์โบไฮเดรต ผู้สูงอายุควรเลือกรับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน หรือผ่านการขัดสีน้อยวันละ 7 - 9 ทัพพี เช่น ข้าวกล้อง เผือก มัน ธัญพืช ขนมปังโฮลวีต ลูกเดือย และควรรับประทานคาร์โบไฮเดรตให้เพียงพอเพื่อรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
• เกลือแร่และแร่ธาตุจากผักต่าง ๆ ส่วนใหญ่นั้นมาจากพืชและผักสีต่าง ๆ โดยผู้สูงอายุควรรับประทานผักที่ผ่านการปรุงด้วยการต้มหรือนึ่งให้สุกแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อให้เคี้ยวง่าย และควรเป็นผักหลากหลายสีเพื่อให้ได้วิตามิน แร่ธาตุที่หลากหลาย ในการเสริมความแข็งแรงและป้องกันโรค เช่น
   • ธาตุเหล็ก : ช่วยป้องกันภาวะซีดและอาการเหนื่อยง่าย พบมากในผักใบเขียว กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ ถั่วเขียว ถั่วแดง งาดำ
   • วิตามินซี : ที่ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหาร พบมากในผักโขม มะละกอ ฝรั่ง ส้ม
   • โพแทสเซียม : ช่วยให้ระบบกล้ามเนื้อและระบบประสาททำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พบมากใน กล้วย ส้ม ฝรั่ง มะเขือเทศ กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ ผักโขม ข้าวซ้อมมือ
   • วิตามินบี 12 : สำคัญต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง เซลล์สมองและเส้นประสาท พบมากในเนื้อสัตว์ทุกชนิด ไข่ ปลา โยเกิร์ต เนยแข็ง นม
   • แมกนีเซียม : พบมากในเนื้อปลา ผักใบเขียว กล้วย และถั่วต่าง ๆ
   • วิตามินเอ : ช่วยรักษาสายตาของผู้สูงอายุไม่ให้เสื่อมสภาพเร็ว พบมากในผักโขม แครอท มันเทศ ฟักทอง มะละกอ
• วิตามินจากผลไม้ต่าง ๆ ผู้สูงอายุควรเลือกรับประทานผลไม้ที่เคี้ยวง่าย เนื้อนุ่ม และควรรับประทานผลไม้ทุกวัน เพื่อให้ได้รับวิตามินซีและเส้นใยอาหาร เช่น มะละกอ กล้วยสุก ส้ม แต่ควรหลีกเลี่ยงผลไม้รสชาติหวานจัด เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับระดับน้ำตาลได้
• ไขมัน ผู้สูงอายุยังคงต้องการพลังงานจากไขมัน แต่ต้องจำกัดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยควรบริโภคไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา และควรลดหรือจำกัดการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ไขมันจากสัตว์ เนย น้ำมัน กะทิ ครีมเข้มข้น

อุปกรณ์สำหรับดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วย

   PHC-01 Series : อุปกรณ์พยุงสำหรับโถสุขภัณฑ์ นวัตกรรมสำหรับโถสุขภัณฑ์ (Toilet for Elderly) เป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ ผู้ที่มีปัญหาด้านข้อเข่า กล้ามเนื้ออ่อนแรงสามารถรองรับน้ำหนักได้สูงสุด 90 kg. ใช้งานง่ายเพียงกดปุ่มขึ้น-ลง    DYNAMICO : เป็นอุปกรณ์สำหรับช่วยหัดเดินหรือผู้มีปัญหาเกี่ยวกับขา อุปกรณ์ถูกออกแบบมาให้มีสมดุลที่ดีในส่วนฐาน จึงช่วยป้องกันการล้มในระหว่างการฝึกเดิน รวมไปถึงมีส่วนรองรับบริเวณอก, เอว ที่สามารถปรับระดับสูง-ต่ำได้ และมีส่วนพยุงสะโพกเหมือนกางเกงที่มีการยึดติดกับตัวอุปกรณ์ ผู้ป่วยจึงสามารถฝึกเดินได้อย่างอิสระและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น


เครดิตข้อมูล

www.vimut.com

เครดิตรูปภาพ
www.senior.co.th
www.sasuksawi.go.th