คุณยังไม่มีสินค้าในรถเข็น
โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) (2)
วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 2024 11 นาฬิกา 05 นาที 28 วินาที Asia/Bangkok
โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) (2)
การรักษาโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)
เมื่อได้รับการวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนแล้ว แพทย์ผู้ตรวจรักษาจะทำการประเมินและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมซึ่งอาจจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย โดยมีจุดประสงค์ของการรักษาที่สำคัญที่สุดคือการลดความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยการรักษาโรคกระดูกพรุนสามารถแบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ ๆ คือ การรักษาโดยไม่ใช้ยาและการรักษาโดยใช้ยา
การรักษาโดยไม่ใช้ยา
การรับประทานแคลเซียมและวิตามินดีให้เพียงพอกับความต้องการในแต่ละวัน โดยปริมาณแคลเซียม (Elemental Calcium) สำหรับผู้ที่มีอายุระหว่าง 19-50 ปี คือ 800 มก./วัน และผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 51 ปีขึ้นไป คือ 1,000 มก./วัน อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำให้ทานแคลเซียม (Elemental Calcium) ที่มากกว่า 1,500 มก./วัน เพราะประโยชน์ต่อกระดูกยังไม่ชัดเจน และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ส่วนวิตามินดีที่ควรได้รับในแต่ละวันคือประมาณ 600 ยูนิต/วัน ในผู้ที่มีอายุ 18-70 ปี และ 800 ยูนิต/วัน ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 71 ปีขึ้นไป โดยที่ไม่ควรเกิน 4,000 ยูนิต/วัน อย่างไรก็ตามขนาดของวิตามินดีที่อาจต้องให้เสริมจะมีความแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย โดยพิจารณาจากหลายปัจจัย รวมไปถึงการตรวจวัดระดับของวิตามินดีในเลือด ส่วนการรับประทานอาหารแนะนำให้รับประทานอาหารให้ครบทั้งห้าหมู่
• การออกกำลังกายเพื่อคงความหนาแน่นของกระดูกและลดการสูญเสียมวลกระดูก เช่น การเดินประมาณ 30-40 นาทีต่อครั้ง อาทิตย์ละ 3-4 ครั้ง, การรำมวยจีน, การเต้นลีลาศ เป็นต้น ซึ่งการออกกำลังกายที่เหมาะสมควรต้องมีการปรับให้เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย
• หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น
• การป้องกันการหกล้ม เพราะการหกล้มเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดกระดูกหักในผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน กล่าวคือ ต้องมีการปรับสภาพที่อยู่อาศัยให้เหมาะสม การประเมินเรื่องการมองเห็น การใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน (ไม้เท้า หรือ walker) หากมีความจำเป็น รวมไปถึงการประเมินเกี่ยวกับยาที่รับประทานเพราะยาบางชนิดอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้มได้ เช่น หน้ามืด เวียนหัว เป็นต้น
การรักษาโดยใช้ยา
ยาที่ใช้ในการรักษาโรคกระดูกพรุนที่ใช้ในประเทศไทย สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ตามกลไกการออกฤทธิ์ของยา คือ
• ยาที่ช่วยลดการสลายของกระดูก (Antiresorptive Agents) ซึ่งมีทั้งชนิดรับประทาน (อาทิตย์ละเม็ด หรือ เดือนละเม็ด), ชนิดฉีด (ฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนังทุก 6 เดือน หรือฉีดเข้าเส้นเลือดดำทุก 3 เดือน รวมไปถึงฉีดเข้าเส้นเลือดดำทุก 1 ปี)
• ยาที่กระตุ้นการสร้างกระดูก (Anabolic Agents) โดยยาชนิดนี้จะมีวิธีการบริหารยาคือ ฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนังทุกวัน และในปัจจุบันยังมียาที่เพิ่งจะนำเข้าประเทศไทยได้ไม่นานนัก โดยมีกลไกการออกฤทธิ์ทั้งลดการสลายกระดูกและกระตุ้นการสร้างกระดูก โดยฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนังทุก 1 เดือน
สำหรับการตัดสินใจว่าควรจะเลือกใช้ยากลุ่มใดหรือยาชนิดใดในการรักษาผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนนั้น แพทย์ผู้รักษาจะประเมิน อธิบายและตัดสินใจร่วมกับผู้ป่วยหรือญาติ เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสมซึ่งอาจจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย
Walker มีล้อ/รถเข็นช่วยเดินมีล้อ/อุปกรณ์ช่วยเดิน
TOPRO Troja 5G : รถเข็นช่วยเดิน/Walker มีล้อ ช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาด้านการเดิน สามารถเดินได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ดีไซน์ถูกออกแบบมาให้มีความแข็งแรงและทนทาน สามารถพับเก็บได้และเคลื่อนย้ายได้สะดวก | TOPRO Troja Walker2 : รถเข็นพยุงเดิน/อุปกรณ์ช่วยเดิน ดีไซน์ทันสมัย น้ำหนักเบา ถูกออกแบบให้มีส่วนรองรับที่บริเวณปลายแขน ช่วยให้ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีปัญหาด้านการเดินสามารถเดินได้อย่างสะดวกและปลอดภัย |
เครดิตข้อมูล
https://kdmshospital.com
เครดิตรูปภาพ
www.siphhospital.com
www.bangkokinternationalhospital.com