คุณยังไม่มีสินค้าในรถเข็น
โรครองช้ำ (Plantar Fasciitis) (1)
วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 2024 10 นาฬิกา 45 นาที 59 วินาที Asia/Bangkok
โรครองช้ำ (Plantar Fasciitis) (1)
โรครองช้ำคืออะไร
โรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบหรือรองช้ำ คือ ภาวะที่มีการอักเสบของพังผืดใต้ฝ่าเท้าหรือ Plantar Fascia ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการเจ็บส้นเท้าที่พบบ่อยที่สุด โดยมากมักเกิดการอักเสบบริเวณที่พังผืดยึดเกาะกับกระดูกส้นเท้า ลักษณะสำคัญของภาวะนี้คือมีอาการปวดที่ส้นเท้าหรือฝ่าเท้า โดยจะปวดมากที่สุดเมื่อลงจากเตียงในตอนเช้าหรือหลังจากนั่งนาน ๆ และอาการจะทุเลาลงเมื่อเดินไปสักพักหรือหลังทำการยืดเหยียดฝ่าเท้า โดยทั่วไปรองช้ำเป็นโรคที่สามารถหายได้เองแม้ไม่ได้ทำการรักษา แต่การได้รับการรักษาที่เหมาะสมจะทำให้หายได้เร็วขึ้น และการดูแลฝ่าเท้าอย่างถูกวิธีจะทำให้อัตราการกลับเป็นซ้ำน้อยลง
สาเหตุของโรครองช้ำ
• การใช้งานมากเกินไปจนร่างกายทนไม่ไหว เช่น การฝึกวิ่งที่หักโหมจนเกินไป หรือการวิ่งในระยะทางที่ไกลเกินไป
• การวิ่งกระแทกส้น สาเหตุนี้มักพบในคนที่ชอบวิ่งก้าวยาว ๆ ทำให้จังหวะลงเท้ามีการกระแทกอย่างรุนแรงที่ส้นเท้า
• การวิ่งบนพื้นแข็งหรือใช้รองเท้าที่พื้นบางเกินไปจนไม่สามารถรับแรงกระแทกได้ดีพอ
• น้ำหนักตัวที่มากเกินไป ในคนอ้วนมีโอกาสเกิดโรคนี้ได้มากกว่า เนื่องจากแรงกระแทกจะมีการแปรผันตามน้ำหนักตัวที่ลงไปบนส้นเท้า
• โครงสร้างร่างกายผิดปกติ เช่น อุ้งเท้าสูง เท้าแบนและคว่ำ หรือส้นเท้าบิดออกด้านนอก
• นอกจากอาการปวดเวลาลงน้ำหนักแล้ว อาจมีอาการกดเจ็บบริเวณกึ่งกลางของกระดูกส้นเท้าร่วมด้วย หากคลำที่กระดูกบริเวณนั้นจะพบว่ามีความนูนมากกว่าปกติ หรือในผู้ป่วยบางคนอาจมีเนื้อส้นเท้าบริเวณนั้นบางกว่าคนปกติ
อาการของโรครองช้ำ
เจ็บที่ส้นเท้าหรือฝ่าเท้าเวลาเดินลงน้ำหนัก ลักษณะอาการเจ็บเป็นแบบเจ็บแปล๊บหรือรู้สึกเหมือนมีเข็มทิ่มที่ส้นเท้า มักมีอาการเมื่อเริ่มยืนหรือเดินหลังจากไม่ได้ลงน้ำหนักเป็นเวลานาน โดยเฉพาะเมื่อลงจากเตียงในตอนเช้าหรือหลังจากนั่งทำงานเป็นระยะเวลานาน ซึ่งในระยะเริ่มแรกมักจะทุเลาปวดได้เองเมื่อใช้งานหรือเดินไปสักพัก โดยอาการมักจะเป็น ๆ หาย ๆ ตามการใช้งานและความเสื่อมสภาพของพังผืดฝ่าเท้า ในระยะต่อมาอาจมีอาการมากขึ้นและปวดไม่ทุเลาลงแม้ใช้งานไปสักพัก อาการเหล่านี้อาจเป็นเรื้อรังหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งอันที่จริงโรคนี้อาจหายได้เองแม้ไม่ได้รับการรักษา แต่อาจใช้เวลานานถึง 6-12 เดือน การได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะทำให้ระยะเวลาดำเนินโรคสั้นลง หายได้เร็วขึ้นและยังป้องกันมิให้เป็นเรื้อรัง ผู้ป่วยที่มีอาการในเบื้องต้นอาจดูแลตนเองด้วยการพักการเดินหรือวิ่ง การปรับรองเท้าให้เหมาะสมและการบริหารยืดเหยียดฝ่าเท้า และหากอาการไม่ดีขึ้นหรือเป็นเรื้อรังควรพบแพทย์
รถเข็นช่วยพยุงเดินมีล้อ/อุปกรณ์ช่วยเดิน/Walker มีล้อ
TOPRO Troja 5G : รถเข็นช่วยเดิน/Walker มีล้อ ช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาด้านการเดิน สามารถเดินได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ดีไซน์ถูกออกแบบมาให้มีความแข็งแรงและทนทาน สามารถพับเก็บได้และเคลื่อนย้ายได้สะดวก | TOPRO Troja Walker2 : รถเข็นพยุงเดิน/อุปกรณ์ช่วยเดิน ดีไซน์ทันสมัย น้ำหนักเบา ถูกออกแบบให้มีส่วนรองรับที่บริเวณปลายแขน ช่วยให้ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีปัญหาด้านการเดินสามารถเดินได้อย่างสะดวกและปลอดภัย |
เครดิตข้อมูล
www.bumrungrad.com
www.bangkokhospital.com
เครดิตรูปภาพ
www.firstphysioclinic.com
www.bangkokpainclinic.com