คุณยังไม่มีสินค้าในรถเข็น
โรครองช้ำ (Plantar Fasciitis) (2)
วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 2024 10 นาฬิกา 08 นาที 20 วินาที Asia/Bangkok
โรครองช้ำ (Plantar Fasciitis) (2)
“โรครองช้ำ” ในทางการแพทย์จะเรียกกันอีกชื่อว่า “โรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ” หรือ “พังผืดฝ่าเท้าอักเสบ” เป็นโรคที่ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บส้นเท้าบริเวณฝั่งที่เหยียบลงไปบนพื้น ซึ่งหากปล่อยให้เรื้อรังจะรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่สามารถเดินหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้เหมือนปกติ ทั้งนี้สาเหตุของโรครองช้ำนั้นเกิดจากเส้นเอ็นพังผืดฝ่าเท้ามีการอักเสบ ซึ่งโดยปกติแล้วที่ฝ่าเท้าของเราทุกคนจะมีพังผืดฝ่าเท้าอยู่ และเมื่อพังผืดเส้นนี้เกิดอาการตึงจากการใช้งานโดยที่เราไม่ได้ทำการยืดเหยียดให้ดี ก็จะทำให้เกิดการอักเสบที่จุดเกาะพังผืดบริเวณส้นเท้า และเกิดเป็นอาการเจ็บในที่สุด
การรักษาโรครองช้ำ
• แพทย์ส่วนใหญ่จะทำการรักษาด้วยการให้รับประทานยาร่วมกับการแช่เท้าในน้ำอุ่นและยืดเหยียดฝ่าเท้าและเอ็นร้อยหวาย
• รับประทานยา เช่น ยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ
• แนะนำให้ลดน้ำหนัก โดยควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไป เพราะอาจจะทำให้เอ็นฝ่าเท้ารับน้ำหนักมากเกินไป ส่งผลให้อาการนั้นหายช้าและมีอาการปวดมากยิ่งขึ้น
• ใช้วิธีการรักษาแบบ Insoles หรือแผ่นเสริมใต้ฝ่าเท้า (Foot Orthosis) ที่เหมาะสมกับรองเท้า
• ใส่เฝือกอ่อนชั่วคราว เพื่อลดการเคลื่อนไหวและการอักเสบในช่วงแรก ในเวลากลางคืนหรือสามารถใส่ได้ตามเวลาเหมาะสม
• ทำกายภาพบำบัด โดยใช้ความร้อนแบบอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound Therapy) ดัดยืดที่เส้นเอ็นของฝ่าเท้าและใช้ไม้เท้าช่วยพยุงการเดิน
• ประคบเย็นหรือใช้น้ำแข็งประคบ เพื่อช่วยลดอาการปวดบวม
• รักษาด้วยคลื่นกระแทก (Shock-Wave Therapy) โดยใช้คลื่นเสียงกระตุ้นบริเวณจุดเกาะพังผืดฝ่าเท้า ให้เกิดการสมานตัวและลดการอักเสบ เนื่องจากทำให้เลือดมาหล่อเลี้ยงส่วนที่เสียหายและซ่อมแซมได้ ซึ่งผลการรักษามีความใกล้เคียงกับการผ่าตัด
• หลีกเลี่ยงการฉีดยากลุ่มสเตียรอยด์
• สุดท้ายหากได้รับการรักษาตามลำดับทั้งหมดแล้วนานกว่า 6 เดือน อาการยังไม่ดีขึ้น อาจต้องพิจารณาใช้การผ่าตัด โดยมีทางเลือกทั้งผ่าแบบเปิดหรือใช้กล้อง เพื่อเลาะจุดเกาะพังผืดของฝ่าเท้า ซึ่งจะช่วยให้การอักเสบและอาการปวดหายไป
การป้องกันโรครองช้ำ
• เลือกรองเท้าให้เหมาะกับเท้าพอดี ไม่รัดเกินไป สวมใส่สบาย และเหมาะกับชีวิตประจำวัน เพื่อช่วยลดแรงกระแทกจากการออกกำลังกายหรือเดินมากเกินไป หรือสวมใส่รองเท้าส้นนิ่ม โดยใช้แผ่นรองเท้า
• หยุดกิจกรรมที่ต้องใช้ฝ่าเท้าเป็นเวลานานหรือกีฬา อาทิ การวิ่ง การปั่นจักรยาน เพื่อหลีกเหลี่ยงน้ำหนักที่จะลงฝ่าเท้า และหลีกเลี่ยงการเดินด้วยเท้าเปล่า
• สำหรับสาว ๆ ที่สวมรองเท้าส้นสูงมาก ๆ หรือสวมเป็นเวลานาน หากมีเวลาพักควรถอดรองเท้าออกและฝึกยืดกล้ามเนื้อน่อง ยืดพังผืดใต้ฝ่าเท้าบ่อย ๆ
• ผู้ที่มีเท้าผิดรูป เช่น ฝ่าเท้าแบนหรือโก่งเกินไป ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อตัดรองเท้าพิเศษให้เข้ากับรูปเท้า เพื่อช่วยลดการบาดเจ็บและป้องกันโรครองช้ำได้
ในความเป็นจริงแล้ว รองช้ำไม่ได้เป็นโรคอันตรายร้ายแรง และรักษาได้ไม่ยากเลย แต่ถ้าปล่อยเอาไว้นานวันไปโดยไม่ได้รักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดส้นเท้าจนรบกวนความสามารถในดำเนินชีวิตประจำวันได้ ซึ่งเมื่อมารักษาในระยะที่เป็นรุนแรงแล้ว ก็จะต้องใช้เวลานานมากขึ้นกว่าจะกลับมาหายเป็นปกติ
ดังนั้น หากสำรวจตัวเองแล้วพบว่ามีอาการเดินแล้วเจ็บส้นเท้า โดยเฉพาะอาการ Morning Pain ที่มักเจ็บตอนเช้าตั้งแต่ก้าวแรกที่ลงจากเตียง ก็ให้ชวนสงสัยว่ามีโอกาสเป็นโรครองช้ำได้ และควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจวินิจฉัยให้มั่นใจ หากเป็นจริงก็จะได้ดำเนินการรักษาให้หายดีโดยเร็วเพื่อให้โรคไม่ลุกลาม และกลับมาใช้ชีวิต ทำงาน เล่นกีฬา ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างเป็นปกติสุขอีกครั้ง
รถเข็นช่วยเดินมีล้อ/อุปกรณ์ช่วยเดิน/Walker มีล้อ
TOPRO Troja 5G : รถเข็นช่วยเดิน/Walker มีล้อ ช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาด้านการเดิน สามารถเดินได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ดีไซน์ถูกออกแบบมาให้มีความแข็งแรงและทนทาน สามารถพับเก็บได้และเคลื่อนย้ายได้สะดวก | TOPRO Troja Walker2 : รถเข็นพยุงเดิน/อุปกรณ์ช่วยเดิน ดีไซน์ทันสมัย น้ำหนักเบา ถูกออกแบบให้มีส่วนรองรับที่บริเวณปลายแขน ช่วยให้ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีปัญหาด้านการเดินสามารถเดินได้อย่างสะดวกและปลอดภัย |
เครดิตข้อมูล
https://kdmshospital.com
www.samitivejhospitals.com
เครดิตรูปภาพ
www.vimut.com
www.facebook.com