การบริหารร่างกายแก้ปวดเข่าจากข้อเข่าเสื่อม

             โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ สาเหตุหลักเกิดจากการเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อ ส่งผลให้ผู้สูงอายุมักมีอาการปวดเข่า โดยเฉพาะเวลายืน เดิน หรือขึ้นลงบันได และมักมีอาการตึงแข็งบริเวณข้อในช่วงหลังตื่นนอนหรือหลังนั่งงอเข่าเป็นเวลานาน 

สำหรับการบริหารกล้ามเนื้อ จะเน้นการบริหารเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณข้อเข่า ได้แก่ กล้ามเนื้อ quadriceps และกล้ามเนื้อ hamstring

ระยะอักเสบ

  • Isometric quadriceps exercise 

 

เป็นท่าบริหารที่ควรทำในระยะที่มีการอักเสบและการเจ็บปวดของข้อเข่า และควรทำต่อเนื่องติดต่อกันไป แม้อาการอักเสบจะหายไปแล้ว

วิธีทำ 

  • นอนหงายกับพื้น ขาสองข้างเหยียดตรง จากนั้นค่อยๆเกร็งขาโดยการกดเข่าลงกับพื้น จนเห็นกล้ามเนื้อ quadriceps เกร็งตัวขึ้นและกระดูกสะบ้าเคลื่อนตัวเล็กน้อย เกร็งค้างไว้ 5 วินาทีแล้วคลาย ทำซ้ำ 20 ครั้งต่อ 1 รอบ อย่างน้อยวันละ 2 รอบ

หรือ อีกวิธี คือ

  • นอนหงายกับพื้น ขาสองข้างเหยียดตรง จากนั้นยกขาข้างที่ปวดขึ้นจากพื้นโดยเข่าต้องเหยียดตรงตลอด ยกสูงประมาณ 45 องศา ค้างไว้ 5 วินาที แล้วค่อยๆวางขาลงกับพื้น ทำซ้ำ 20 ครั้งต่อ 1 รอบ อย่างน้อยวันละ 2 รอบ
  • Isometric hamstring exercise 

 

เป็นท่าบริหารที่ควรทำควบคู่กับ isometric quadriceps exercise 

วิธีทำ

  • นอนคว่ำลงกับพื้น จากนั้นทำท่าเกร็งเหมือนจะงอเข่าโดยมีขาอีกข้างต้านการงอเข่าไว้ เกร็งค้างไว้ 5 วินาทีแล้วผ่อน ทำซ้ำ 20 ครั้งต่อ 1 รอบ อย่างน้อยวันละ 2 รอบ

ระยะพ้นการอักเสบ

ระยะนี้ อาการอักเสบจะเริ่มลดลง ปวดบวมลดลง การบริหารจึงเริ่มเป็นแบบการเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า แต่อย่างไรก็ตาม ควรบริหารท่า isometric exercise ทั้ง 2 ท่าข้างต้นควบคู่ไปด้วย

  • Isotonic quadriceps exercise 

 

กรณีมีปัญหาของ patellofemoral joint

วิธีทำ

  • นอนหงาย ใช้หมอนหรือผ้าม้วนรองใต้ข้อพับเข่า ให้เข่างอ 45 องศา จากนั้นใช้น้ำหนักถ่วงบริเวณข้อเท้า โดยเริ่มต้นจากน้ำหนัก 1-2 กก. ยกขาข้างที่ถ่วงน้ำหนักขึ้นโดยเข่าต้องเหยียดตรงตลอด เกร็งค้างไว้ 5 วินาที แล้วผ่อนลง ทำซ้ำ 20 ครั้งต่อรอบ อย่างน้อยวันละ 2 รอบ

** ค่อยๆ เพิ่มน้ำหนักขึ้นเรื่อยๆทีละ ¼ - ½  กก.ต่อสัปดาห์ จนสามารถยกได้น้ำหนักสูงสุด 10 กก.(ผู้หญิง) และ 15 กก.(ผู้ชาย) แล้วคงการบริหารด้วยน้ำหนักขนาดสูงสุดต่อไป**

                        กรณีไม่มีปัญหาของ patellofemoral joint

                        วิธีทำ

  • นั่งห้อยขาลง ให้เข่างอ 90 องศา จากนั้นถ่วงน้ำหนักที่ข้อเท้า แล้วค่อยๆยกขาข้างที่ถ่วงน้ำหนักขึ้นโดยข้อเข่าต้องเหยียดตรงตลอด เกร็งค้างไว้ 5 วินาที แล้วผ่อนลง ทำซ้ำ 20 ครั้งต่อรอบ อย่างน้อยวันละ 2 รอบ

**การเพิ่มน้ำหนักทำเช่นเดียวกันกับข้างต้น**

  • Isotonic hamstring exercise 

 

วิธีทำ

  • นอนคว่ำ ขาเหยียดตรง จากนั้นถ่วงน้ำหนักที่ข้อเท้าข้างที่มีปัญหา งอเข่าขึ้นมา 45องศา เกร็งค้างไว้ 5 วินาที ทำซ้ำ 20 ครั้งต่อรอบ อย่างน้อยวันละ 2 รอบ

**การเพิ่มน้ำหนักทำเช่นเดียวกันกับวิธีข้างต้น**

 

 

 

 

 

 

Let’s fly กับ toilet lift ช่วยเรื่องข้อเข่าเสื่อมของคุณได้

ที่มา:

[1] เอกสารประกอบการสอน ทักษะทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูสำหรับนักศึกษาแพทย์ปีที่ 5 โดยภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลรามาธิบดี

[2] https://www.google.co.th/url?sa=i&url=https%3A%2F%2Fwww.medicalrecords.com%2Fhealth-a-to-z%2Fquad-sets-definition&psig=AOvVaw2CI6o0KUwHjUT9qL_8QRf3&ust=1602228748475000&source=images&cd=vfe&ved=0CA0QjhxqFwoTCMCvqZm-pOwCFQAAAAAdAAAAABAP

[3] https://www.google.co.th/url?sa=i&url=https%3A%2F%2Fwww.uvmhealth.org%2Fhealthwise%2Ftopic%2Fzm5024&psig=AOvVaw2CI6o0KUwHjUT9qL_8QRf3&ust=1602228748475000&source=images&cd=vfe&ved=0CA0QjhxqFwoTCMCvqZm-pOwCFQAAAAAdAAAAABAU

[4] https://www.google.co.th/url?sa=i&url=https%3A%2F%2Fwww.uvmhealth.org%2Fhealthwise%2Ftopic%2Fzm5026&psig=AOvVaw2CI6o0KUwHjUT9qL_8QRf3&ust=1602228748475000&source=images&cd=vfe&ved=0CA0QjhxqFwoTCMCvqZm-pOwCFQAAAAAdAAAAABAa