ตรวจมวลกระดูกเพื่อเตรียมรับมือกับภาวะกระดูกพรุน


     โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่มีการสูญเสียมวลกระดูก ทำให้กระดูกมีความแข็งแรงลดลงและสามารถทำให้เกิดกระดูกหักตามมาได้ การตรวจมวลกระดูกเป็นการวัดความหนาแน่นของกระดูกเป็นมวลต่อตารางพื้นที่กระดูก โดยการตรวจจะใช้เครื่องมือทางรังสีชนิดพิเศษ นิยมถ่ายภาพบริเวณกระดูกสันหลังส่วนเอว, กระดูกสะโพกและกระดูกข้อมือ การแปลผลจะแปลผลการตรวจว่ามวลกระดูกปกติ, กระดูกบางหรือกระดูกพรุนตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนด

การตรวจความหนาแน่นของกระดูกด้วยเครื่อง BONE Densitometry
     BONE Densitometry เป็นเครื่องมือการตรวจทางรังสีชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นเทคนิคการตรวจทางรังสีวิทยาที่มีประโยชน์อย่างมากในการวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) มีหลายแบบ แต่ที่นิยมใช้คือแบบที่เรียกว่า Dual Energy X-ray Absorptiometry Scanner หรือ DEXA Scanner โดยใช้รังสีเอกซ์พลังงานต่ำ 2 พลังงานในการตรวจผู้เข้ารับการตรวจจะได้รับปริมาณรังสีน้อย ซึ่งปริมาณรังสีที่ได้รับในแต่ละครั้งของการตรวจจะน้อยกว่าการตรวจเอกซเรย์ปอดปกติ ตำแหน่งที่ตรวจ คือ บริเวณกระดูกสันหลัง, กระดูกสะโพกและบริเวณข้อมือ เนื่องจากบริเวณเหล่านี้เป็นบริเวณที่พบว่ามีการแตกหักของกระดูกจากภาวะกระดูกพรุนได้บ่อย

ชนิดเครื่องตรวจความหนาแน่นมวลกระดูก
     เครื่องตรวจความหนาแน่นมวลกระดูกแบบ DEXA Scan แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
       1. เครื่องตรวจบริเวณกระดูกแกนกลางร่างกาย (Central Device) ใช้ตรวจบริเวณกระดูกสันหลังและสะโพก ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานในการวินิจฉัย
       2. เครื่องตรวจบริเวณกระดูกแขน-ขา (Peripheral Device) ใช้ตรวจบริเวณข้อมือ ข้อเท้า ใช้ในการตรวจคัดกรอง

การป้องกันภาวะกระดูกพรุน สามารถทำได้ดังต่อไปนี้
     1. ควรสะสมมวลกระดูกให้มากที่สุดตั้งแต่วัยเด็ก โดยรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ และรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมมาก เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม, กุ้งแห้ง, ปลาตัวเล็ก, งาดำ หรือผักใบเขียว เช่น ผักกวางตุ้ง, ผักคะน้า, บล็อคโคลี่
     2. ควรออกกำลังกายอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ
     3. งดการสูบบุหรี่และงดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

     การตรวจมวลกระดูกมีประโยชน์เนื่องจากคนที่เป็นโรคกระดูกพรุนส่วนใหญ่ไม่มีอาการ ส่วนมากผู้ป่วยจะมาพบแพทย์เมื่อเกิดภาวะกระดูกหักแล้ว อย่างไรก็ตามควรหมั่นดูแลสุขภาพตั้งแต่เนิ่น ๆ หากพบว่าภาวะของร่างกายเข้าข่ายเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนแล้ว ควรเข้าพบแพทย์เพื่อปรึกษาการดูแลร่างกายในขั้นถัดไป

Gait trainer” อุปกรณ์ฝึกเดิน สำหรับผู้ที่ผ่านการผ่าตัดสะโพก
     Gait trainer เป็นอุปกรณ์ช่วยพยุงเดิน เพื่อให้สามารถฝึกเดินได้ด้วยตนเอง สามารถประคองลำตัวและป้องกันการล้ม หากใครที่ผ่านการผ่าตัดกระดูกสะโพกมา หรือมีภาวะกล้ามเนื้อขาอ่อนแรง หรือต้องการฝึกเดินแต่คนพยุงมีน้อย การใช้อุปกรณ์เสริมก็เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยและคนชราใกล้ตัวคุณ

          

ที่มา :
https://www.si.mahidol.ac.th/siriraj_online/thai_version/Health_detail.asp?id=1393
https://www.bangkokinternationalhospital.com/th/health-articles/diseases-and-treatments/dxa-scan
https://www.simahealthcare.com/content/list?article_id=47
https://weightology.net/the-pitfalls-of-body-fat-measurement-part-6-dexa/comment-page-4/