คุณยังไม่มีสินค้าในรถเข็น
วิธีรักษาอาการขาอ่อนแรงในทุกวัย
วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 2020 10 นาฬิกา 51 นาที 51 วินาที Asia/Bangkok
วิธีรักษาอาการขาอ่อนแรงในทุกวัย
ขาอ่อนแรงเป็นอาการที่พบได้ในทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นในวัยเด็กจนถึงวัยชรา เช่น ขาอ่อนแรงในเด็กที่มีผลมาจากพัฒนาการของสมองผิดปกติ ขาอ่อนแรงในวัยกลางคนเนื่องจากมีภาวะหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท อุบัติเหตุหรือมีภาวะหลอดเลือดสมองอักเสบ รวมทั้งวัยสูงอายุที่มีการเคลื่อนไหวน้อยลง ประกอบกับสมรรถภาพทางร่างกายที่ถดถอยส่งผลให้มวลกล้ามเนื้อน้อยลงจึงอาจทำให้กล้ามเนื้อฝ่อลีบ ก็มักจะพบการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขาร่วมด้วยเช่นกัน
สาเหตุของขาอ่อนแรง มีอะไรบ้าง?
1. ขาอ่อนแรงจากระบบประสาท รวมความผิดปกติของสมอง ไขสันหลังและเส้นประสาท ซึ่งทำหน้าที่สั่งการให้กล้ามเนื้อเกิดการเคลื่อนไหว เช่น การอ่อนแรงจากโรคหลอดเลือดสมอง การอ่อนแรงจากเส้นประสาทถูกกดทับหรือได้รับบาดเจ็บ
2. ขาอ่อนแรงจากระบบกล้ามเนื้อ เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นโดยตรงกับกล้ามเนื้อบริเวณขา ส่งผลต่อการเคลื่อนไหว เช่น การฝ่อลีบจากการไม่ได้ใช้งาน
3. ขาอ่อนแรงจากการไม่ได้ใช้งาน มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่นอนติดเตียงนาน ๆ หรือเกิดขึ้นตามธรรมชาติในผู้สูงอายุที่เมื่ออายุมากขึ้น เนื่องจากการเคลื่อนไหวของร่างกายที่น้อยลงทำให้กล้ามเนื้อฝ่อลีบ
4. ขาอ่อนแรงจากโรคภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี (Myasthenia Gravis) โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดเอแอลเอส (Amyotrophic Lateral Sclerosis) เป็นโรคที่เกิดจากการทำงานผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีผลให้เกิดการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อบางส่วน หรืออ่อนแรงทั้งร่างกายได้
5. ขาอ่อนแรงที่เกิดจากระบบหัวใจและหลอดเลือด ความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น เส้นเลือดหัวใจตีบ และโรคหัวใจ เป็นต้น ทำให้ผู้ป่วยเหนื่อยง่าย อ่อนล้า และสมรรถภาพโดยรวมของร่างกายลดลงก็อาจทำให้ร่างกายอ่อนแรงลง
วิธีการรักษาอาการขาอ่อนแรง
การรักษาอาการขาอ่อนแรงโดยการกายภาพบำบัดขาในเบื้องต้น ควรได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดก่อน เพื่อจะได้มีวิธีการฟื้นฟูอย่างถูกต้อง ซึ่งการรักษาจะรักษาตามการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้
1. กล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดที่ขาดเส้นประสาทมาเลี้ยง
เนื่องจากเส้นประสาทที่เป็นทางเดินของกระแสประสาทถูกตัดขาด ทำให้กระแสประสาทไม่สามารถเดินทางไปสั่งการให้กล้ามเนื้อหดตัวได้ กล้ามเนื้อจึงฝ่อลีบลง
ปัจจุบันการฟื้นฟูด้วยการกระตุ้นไฟฟ้า เป็นวิธีเดียวในการฟื้นฟูกล้ามเนื้อที่ขาดประสาทมาเลี้ยง เพื่อสั่งการให้กล้ามเนื้อหดตัว ทำให้ชะลอการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อได้ นอกจากการรักษากล้ามเนื้อด้วยการกระตุ้นไฟฟ้าแล้วควรมีการออกกำลังกายร่วมด้วย เพื่อป้องกันข้อต่อติดขัดจากการไม่ได้เคลื่อนไหวเป็นเวลานาน ซึ่งอาจจะต้องให้นักกายภาพบำบัดช่วยเหลือ หรือใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงเดินในการเริ่มต้นออกกำลังกายได้
Microgen / Shutterstock
2. กล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดที่ยังมีเส้นประสาทมาเลี้ยง
กรณีของกล้ามเนื้อที่ยังมีเส้นประสาทมาเลี้ยง การฟื้นฟูจะมุ่งเน้นไปที่การออกกำลังกายตามความสามารถของกล้ามเนื้อของผู้ป่วย และมักใช้วิธีออกกำลังกายแบบช่วยเหลือ โดยอาจจะให้นักกายภาพบำบัดช่วยจัดท่าและออกแรงช่วยในการออกกำลังกาย หรือหากผู้ป่วยพอมีแรงออกกำลังกายเอง เพื่อความปลอดภัยและลดความเสี่ยงต่อการหกล้ม จึงต้องอาศัยเครื่องมือออกกำลังกายชนิดต่างๆ เช่น เครื่องแขวนทางกายภาพบำบัด (Suspension) หรืออุปกรณ์ช่วยเดิน(Gait Trainer) อื่นๆ
ตัวอย่างการใช้งานอุปกรณ์ช่วยเดินแบบต่างๆ