คุณยังไม่มีสินค้าในรถเข็น
โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) (1)
วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2024 15 นาฬิกา 35 นาที 47 วินาที Asia/Bangkok
โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) (1)
โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือโรคที่ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกน้อยลงจากการสะสมกระดูกน้อยเกินไปในขณะที่กำลังเจริญเติบโต หรือมีการสูญเสียมวลกระดูกอย่างมากหลังจากเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ทำให้กระดูกเปราะบางไม่สามารถรับน้ำหนักและแตกหักตามมา อาจเกิดมาจาก 2 ปัจจัย คือ พันธุกรรมและการดำเนินชีวิตที่มีผลต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุนได้เร็วขึ้น โดยปกติมักพบมากในเพศหญิง แต่เพศชายสามารถพบได้ 20 เปอร์เซ็นต์ โรคนี้ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ แต่ก็สามารถพบได้ในวัยหนุ่มสาว
โรคกระดูกพรุนเป็นลักษณะบ่งบอกถึงความชรา พบมากในหญิงสูงอายุ เมื่ออายุมากขึ้นโอกาสเป็นโรคนี้ก็มากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อกระดูกบางถึงระดับที่ไม่สามารถรับน้ำหนักหรือแรงกระแทกได้ก็จะเกิดกระดูกหัก ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในขณะทำกิจวัตรประจำวันตามธรรมดาหรือเกิดขึ้นเมื่อได้รับอุบัติเหตุหกล้ม แม้ว่าอุบัติเหตุนั้นจะดูเล็กน้อยก็ตาม กระดูกที่มักจะหัก ได้แก่ กระดูกต้นขา และกระดูกข้อมือ
โรคกระดูกพรุน ภัยเงียบที่มองไม่เห็น
ปัจจุบันโรคกระดูกพรุนกลายเป็นปัญหาระดับชาติที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้นจากจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น นับเป็น “ภัยเงียบ” อย่างแท้จริง เนื่องจากผู้ป่วยจะไม่รู้ว่าตัวเองมีภาวะกระดูกพรุน เพราะไม่พบว่ามีอาการใด ๆ จนกระทั่งล้มแล้วมี “กระดูกหัก” จึงรู้ว่าเป็น “โรคกระดูกพรุน” สาเหตุเกิดจากการสูญเสียมวลกระดูก ทำให้กระดูกเสียคุณสมบัติการรับน้ำหนัก กระดูกเปราะ หักง่าย บางคนอาจตัวเตี้ยลง (มากกว่า 3 เซนติเมตร) เนื่องจากกระดูกสันหลังโปร่งบางและยุบตัวลงช้า ๆ หรือบางคนมีอาการปวดหลังจากการล้มหรือยกของหนัก
แต่ที่น่าเป็นห่วงคือผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนมีโอกาสเกิดกระดูกหักได้ง่ายกว่าคนทั่วไป เพียงแค่มีแรงกระแทกเบา ๆ การบิดเอี้ยวตัวอย่างทันทีทันใด ไอ จาม หรือลื่นล้ม ทำให้กระดูกสะโพกหรือกระดูกสันหลังหักได้ง่าย ก่อให้เกิดความพิการหรือทุพพลภาพตามมา และคุณภาพชีวิตที่ด้อยลง
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เพิ่มโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุน
นอกจากความผิดปกติของเซลล์กระดูกแล้ว ยังมีอีกหลายปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน
• อายุ เมื่ออายุเพิ่มขึ้น กระบวนการเจริญเติบโตของร่างกายจะเริ่มช้าลง การทดแทนกระดูกส่วนที่สึกหรอก็ช้าตามไปด้วย มวลกระดูกจะเปราะบางและแตกหักง่ายแม้ว่าจะได้รับการกระทบกระเทือนไม่รุนแรงก็ตาม หากร่างกายขาดแคลเซียมในปริมาณที่จำเป็นต่อการสร้างกระดูกก็จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน
• เพศ โรคนี้มักเกิดขึ้นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เพราะเมื่อผู้หญิงเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ก็ลดลง ทำให้เนื้อกระดูกลดลงตามไปด้วย ส่วนในเพศชายจะมีความเสี่ยงเกิดโรคกระดูกพรุนเมื่อมีการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone) น้อยลง
• กรรมพันธุ์ หากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน ก็มีความเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนสูงกว่าคนทั่วไป
• ความผิดปกติในการทำงานของต่อมและอวัยวะต่าง ๆ เช่น ต่อมไทรอยด์ ต่อมพาราไทรอยด์ ต่อมหมวกไต ไตและตับ
• โรคและการเจ็บป่วย เช่น โรคภูมิแพ้ตัวเอง โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคมะเร็งกระดูก
• การบริโภค รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในการสร้างกระดูกและการเจริญเติบโต หรือรับประทานอาหารที่ทำให้แคลเซียมเสียสมดุล เช่น อาหารจำพวกโปรตีนจากเนื้อสัตว์ซึ่งมีความเป็นกรดสูง รวมทั้งการดื่มน้ำอัดลม กาแฟ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเป็นประจำ
• การใช้ยา เช่น ยาสเตียรอยด์ ยากันชักบางชนิด หากจำเป็นต้องใช้ยาเหล่านี้เป็นเวลานานควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ
รถเข็นช่วยเดินมีล้อ/อุปกรณ์ช่วยเดิน/Walker มีล้อ
TOPRO Troja 5G : รถเข็นช่วยเดิน/Walker มีล้อ ช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาด้านการเดิน สามารถเดินได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ดีไซน์ถูกออกแบบมาให้มีความแข็งแรงและทนทาน สามารถพับเก็บได้และเคลื่อนย้ายได้สะดวก | TOPRO Troja Walker2 : รถเข็นพยุงเดิน/อุปกรณ์ช่วยเดิน ดีไซน์ทันสมัย น้ำหนักเบา ถูกออกแบบให้มีส่วนรองรับที่บริเวณปลายแขน ช่วยให้ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีปัญหาด้านการเดินสามารถเดินได้อย่างสะดวกและปลอดภัย |
เครดิตข้อมูล
www.phyathai.com
www.nonthavej.co.th
www.bangkokinternationalhospital.com
เครดิตรูปภาพ
https://hdmall.co.th
www.firstphysioclinics.com