mouse

               ในปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงานด้านเอกสาร งานออกแบบ ดีไซน์ หรืองานอื่น ๆ ล้วนจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาเทคโนโลยีทั้งสิ้น คอมพิวเตอร์เองก็เป็นเทคโนโลยีตัวสำคัญที่ทุกคนจำเป็นต้องใช้ในการทำงานเช่นกัน

               เมาส์ คืออุปกรณ์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการใช้งานคอมพิวเตอร์ เพราะเมาส์เป็นตัวรับคำสั่งในการดำเนินการกิจกรรมต่าง ๆ บนคอมพิวเตอร์ ดังนั้นเมาส์จึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทุกคนจะต้องใช้ในการทำงานในแต่ละวัน สำหรับเมาส์เองก็มีรูปแบบที่หลากหลายและแตกต่างกันออกไป เช่น เมาส์ลูกกลิ้ง เมาส์เลเซอร์ เมาส์มีสาย และเมาส์ไร้สาย เป็นต้น

               ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเมาส์ได้มีการพัฒนารูปแบบอยู่เสมอ แต่ถึงกระนั้นลักษณะในการใช้งานเมาส์ก็ยังคงใกล้เคียงเดิม กล่าวคือในการใช้งานเมาส์ผู้ใช้ก็ยังจำเป็นจะต้องจับเมาส์ค้างอยู่ท่าเดิมตลอดระยะเวลาในการใช้งาน ทำให้กล้ามเนื้อที่ข้อมือและปลายนิ้วต้องแข็งเกร็งอยู่ตลอดเวลา จนอาจนำไปสู่อาการชาและกลายเป็นโรคปลายประสาทอักเสบหรือนิ้วล็อคได้ในอนาคต ยิ่งถ้าหากการนั่งเก้าอี้ทำงานเป็นการนั่งที่ผิดวิธีก็จะส่งผลให้ไหล่ หลัง และคอต้องเกร็งตามไปด้วย และมีอาการปวดตามมาได้  

 chair

               สำหรับการรักษาจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนาน เนื่องจากต้องทำกายภาพบำบัดควบคู่ไปด้วย ดังนั้นทางที่ดีที่สุดก็คือปกกันเอาไว้เสียแต่ต้น เพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อต้องเกร็งมากจนเกินไป หรือค้างอยู่ท่าเดิมเป็นเวลานาน จึงไม่ควรใช้เมาส์อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ  ควรมีเวลาพัก เปลี่ยนท่า และปล่อยมือจากเมาส์บ้าง  รวมไปถึงการนั่งอย่างถูกวิธีก็สามารถลดอาการเจ็บปวดได้เช่นกัน

               การเลือกใช้เมาส์เองก็เป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งในการลดโอกาสการเกิดโรคจากการใช้เมาส์ได้เช่นกัน ดังนั้นผู้ใช้ควรเลือกเมาส์ที่เข้ากับตนเอง (เช่น ขนาดเมาส์พอเหมาะกับมือ ลักษณะเมาส์จับถนัดมือไม่ต้องเกร็งจนเกินไป เป็นต้น) ด้วยเช่นกัน

               โดยในปัจจุบันเองก็มีเทคโนโลยีเมาส์ไร้สายที่ไม่จำเป็นต้องใช้มือสัมผัสแล้วเช่นกัน ผู้ป่วยหรือผู้ใช้ที่มีอาการเจ็บมือก็สามารถใช้เมาส์ Quha Zono ช่วยในการใช้งานคอมพิวเตอร์ได้เหมือนกัน 

                หากต้องการอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเมาส์ Quha Zono สามารถดูวิดิโอเพิ่มเติมได้ที่ด้านล่างของบทความนี้ 


อ้างอิง 

(1)  https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21063306