ปวดข้อเข่าบ่อยๆ เสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ

 

ข้อเข่าเสื่อม เกิดจาก ?

              โรคข้อเข่าเสื่อม เกิดจากการที่กระดูกอ่อนซึ่งทำหน้าที่ปกป้องและดูดซับแรงกระแทกภายในข้อเข่ามีการสึกหรอและเสื่อมสภาพลง จนกระดูกในข้อเข่าเสียดสีกันเอง จากการสึกหรอของกระดูกอ่อนเป็นพื้นที่กว้าง ทำให้เกิดการอักเสบและมีอาการปวด

  

อาการที่บ่งชี้ ว่าเสี่ยงเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม

  • อาการปวดเข่า ถือเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด จะรู้สึกปวดมากเมื่อใช้งานบ่อย และเมื่อได้พักอาการปวดก็จะลดลง
  • รู้สึกตึงที่น่อง และเหยียดงอเข่าได้ไม่เต็มที่
  • เวลาเคลื่อนไหวจะรู้สึกฝืดและเจ็บที่ข้อ
  • เมื่อเคลื่อนไหวจะรู้สึกเหมือนเข่าหลวม ไม่มั่นคงเวลาเดิน
  • มีเสียงเสียดสีภายในข้อ
  • เข่าผิดรูป หรือโก่งออกนอก เข่าบวม ข้อเข่าติด

ปัจจัยเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อม

  • อายุมากขึ้น
  • เคยประสบอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่า
  • อาชีพหรือพฤติกรรมบางอย่างที่ใช้งานบริเวณข้อเข่าหนักเกินไป ซ้ำๆเป็นเวลานาน เช่น ยกของหนัก, การนั่งคุกเข่า
  • กลุ่มอาการเมตาบอลิก (metabolic syndrome) เช่น ภาวะอ้วน, ภาวะไขมันในเลือดสูง, ความดันโลหิตสูง, ระดับน้ำตาลในเลือดสูง

 

 จะสามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่???

               ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมอาการได้ โดยจุดมุ่งหมายในการรักษาคือ ช่วยบรรเทาอาการปวด ช่วยให้หน้าที่การใช้งานของข้อกลับคืนสู่ภาวะปกติหรือใกล้เคียงปกติมากที่สุด และป้องกันหรือแก้ไขการผิดรูปของข้อ

               โดยวิธีการรักษาจะแบ่งตามบุคคล อาการ รวมถึงความพร้อมในการรักษา  ซึ่งมีแนวทางหลัก 2 วิธี ได้แก่

  • การรักษาแบบไม่ผ่าตัด

- เริ่มต้นได้จากการปรับเปลี่ยนการใช้งานเข่าให้น้อยลง และหลีกเลี่ยงการการยืน เดิน หรือนั่งงอเข่าเป็นเวลานาน

-ลดน้ำหนักตัว จะทำให้ลดแรงรับบริเวณข้อเข่า

-การประคบอุ่นบริเวณข้อเข่า เพื่อลดอาการปวด

-การใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงเดิน เช่น ไม้เท้า ไม้ค้ำยัน รถเข็นช่วยเดิน walker

-การใช้ยา เช่น ยากลุ่ม NSAIDs , ยา tramadol  หรือฉีดน้ำเลี้ยงไขข้อ

 

  • การรักษาแบบผ่าตัด

              โดยวิธีนี้จะถูกนำมาใช้ในกรณีที่รักษาโดยวิธีอื่น ๆ แล้วไม่ได้ผล หรือผู้ที่มีอาการปวดขั้นรุนแรงจนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ปกติ การรักษาโดยวิธีผ่าตัด เช่น “ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม”   “ผ่าตัดจัดแนวกระดูกขา”

 

            ซึ่งหลังจากผ่าตัด การทำกายภาพบำบัดจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ซึ่งอาจจะต้องมีการใช้อุปกรณ์เสริมในการช่วยฝึกเดินในระยะแรก เช่น อุปกรณ์ฝึกเดิน  รถเข็นช่วยเดิน เป็นต้น

*********************************

 

แหล่งข้อมูลรูปภาพ : https://www.thonburihospital.com/OA_Knees.html

- กรณีข้อเข่าเสื่อมและผิดรูป จนเกิดปัญหาการทรงตัว แต่ยังสามารถเดินได้ด้วยเอง อาจจะใช้อุปกรณ์เสริมในการช่วยเดิน เช่น รถเข็นช่วยเดิน Rollator

- กรณีผู้ป่วยผ่าตัดเข่ามา และอยู่ในช่วงฝึกเดิโดยอาการของผู้ป่วยจะยังไม่สามารถทรงตัวเองได้ทั้งหมด          อาจใช้อุปกรณ์เสริม ที่มีส่วนประคองทั้งลำตัวและพยุงสะโพกร่วมด้วย

          

 

  

แหล่งอ้างอิง

[1] https://www.paolohospital.com/th-TH/center/Article/Detailsบทความ-กระดูกและข้อ/สัญญาณเตือนของภาวะ--ข้อเข่าเสื่อม-

[2] https://www.practicalpainmanagement.com/patient/conditions/osteoarthritis/knee-osteoarthritis/knee-osteoarthritis-diagnosis

[3] http://sriphat.med.cmu.ac.th/th/knowledge-29

 

อุปกรณ์แนะนำสำหรับผู้มีปัญหาในการลุกนั่งชักโครก!!!