คุณยังไม่มีสินค้าในรถเข็น
มารู้จัก โรคสมองเสื่อม กันเถอะ
วันอังคารที่ 1 กันยายน ค.ศ. 2020 13 นาฬิกา 16 นาที 54 วินาที Asia/Bangkok
มารู้จัก โรคสมองเสื่อม กันเถอะ
เนื่องมาจาก สังคมไทยในปัจจุบันมีแนวโน้มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุจึงเป็นกลุ่มประชากรที่มีความสำคัญในปัจจุบัน เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ภาวะหรือโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เพื่อเป็นแนวทางป้องกันและดูแลสุขภาพให้กับบุคคลที่เรารัก
โรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคสมองเสื่อมประเภทหนึ่งที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุโดยความชุกของโรคนั้นจะเพิ่มมากขึ้นตามอายุ โรคนี้มีผลต่อความสามารถในการจำ พฤติกรรมการแสดงออก การแสดงออกทางอารมณ์ และการใช้ภาษาของผู้ป่วย
โรคอัลไซเมอร์เกิดจาก ?
แท้จริงแล้วสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่จากการศึกษาคาดว่า เกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในสมอง ส่งผลให้การทำงานของสมองในบางส่วนลดลง ส่วนของสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำฝ่อลง และยังพบว่า สมองของผู้ป่วยโรคนี้มีการสะสมของโปรตีนบางชนิดมากกว่าในสมองปกติ เช่น amyloid , tau protein เป็นต้น
อาการโรคอัลไซเมอร์
- ระยะแรก : ในระยะนี้การช่วยเหลือตนเองขั้นพื้นฐาน ผู้ป่วยยังสามารถทำได้ เช่น การกินอาหาร ,การอาบน้ำ เป็นต้น แต่ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการความจำสั้น ผู้ป่วยจะจำเรื่องราวที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่ได้ ทำให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมพูดซ้ำถามซ้ำ , ผู้ป่วยเริ่มสับสนวัน เวลา สถานที่และทิศทางของสิ่งต่างๆ จำไม่ได้ว่าวางของไว้ที่ใด , ผู้ป่วยไม่สามารถจัดการเรื่องเงินหรืองานที่ซับซ้อนได้, การตัดสินใจแย่ลง, อารมณ์และพฤติกรรม รวมถึงบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น หงุดหงิดง่าย ขี้กังวล เป็นต้น
- ระยะกลาง: ผู้ป่วยเริ่มสับสนมากขึ้น ความสามารถในการจำเริ่มลดลงไป อาจทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถจดจำเพื่อนหรือคนในครอบครัวได้ , มีปัญหาในการอ่านการเขียน, สูญเสียความสามารถในการคิดเป็นระบบ, ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆได้, มีอารมณ์แปรปรวนมากขึ้น , อาจมีอาการหลงผิด และประสาทหลอนได้, สูญเสียการควบคุมจิตใต้สำนึกส่งผลให้มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้ เช่น เปลือยผ้าในที่สาธารณะ เป็นต้น
- ระยะท้าย : ผู้ป่วยไม่สามารถจดจำคนรอบข้างได้ , ขาดความสามารถในการสื่อสาร, ไม่สามารถดูแลตนเองได้ ต้องอาศัยผู้ดูแลตลอดเวลา
การรักษา
ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาให้หายขาด การรักษาส่วนมากเป็นการรักษาตามอาการเพื่อชะลอความเสื่อมของสมอง
- การรักษาด้วยยา
- การรักษาเรื่องความจำเสื่อม : ยากลุ่ม cholinesterase inhibitors ซึ่งได้ผลดีในผู้ป่วยระยะแรก สามารถช่วยชะลออาการของผู้ป่วยได้
- การรักษาอาการอื่นๆ : ผู้ป่วยอาจมีอาการหรือพฤติกรรม รวมถึงอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป สามารถรักษาตามอาการได้ด้วยยา เช่น ยาต้านซึมเศร้า ยาคลายวิตกกังวล เป็นต้น
2. การปรับวิธีการดูแลผู้ป่วย
2.1 พยายามกระตุ้นผู้ป่วยให้สามารถดูแลตนเองให้มากที่สุด โดยเฉพาะกิจวัตรประจำวัน ผู้ดูแลต้องใจเย็น ไม่เร่งรีบผู้ป่วยเพราะจะกระตุ้นให้ผู้ป่วยเกิดความไม่พอใจ หรือก้าวร้าวได้
2.2 จัดกิจกรรมให้ผู้ป่วยทำ เพื่อเป็นการบริหารสมองของผู้ป่วย เช่น การคำนวณเลข การเล่นเกมส์ การทายคำจากภาพ
2.3 รับมือกับพฤติกรรมหรืออารมณ์ต่างๆได้อย่างถูกวิธี เช่น กรณีผู้ป่วยก้าวร้าว ให้บอกผู้ป่วยโดยใช้น้ำเสียงนุ่มนวล ไม่โต้แย้ง ไม่พยายามหาเหตุผลมาสู้ พยายามเบี่ยงเบนให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมอื่นที่ผู้ป่วยสนใจ จะทำให้ผู้ป่วยลืมเรื่องต่างๆได้ง่ายและอารมณ์ดีขึ้น
3. ควบคุมโรคประจำตัวอื่นๆของผู้ป่วยให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
4. ผู้ดูแล หมั่นใส่ใจดูแลตนเองทั้งกายและใจ เนื่องจากการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ อาจทำให้ผู้ดูแลเกิดความเครียดได้
Bike around ช่วยผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ได้อย่างไร?
ที่มา :
[1]https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=753
[2]http://www.chulabhornhospital.com/page.php?name=589
[3]https://emedicine.medscape.com/article/1134817-overview