อุปกรณ์ช่วยเดินฝึกเดิน

อุปกรณ์ช่วยเดินหรืออุปกรณ์ฝึกเดินช่วยในการฝึกกายภาพขาอย่างไร?
   หลายๆ ท่านคงจะสงสัยว่าอุปกรณ์ช่วยเดินมีบทบาทในการทำกายภาพบำบัดด้านการเดินอย่างไร? ก่อนอื่นจะต้องขอกล่าวถึงเรื่องของการทำกายภาพบำบัดด้านการเดินเสียก่อน ผู้ที่จำเป็นจะต้องทำกายภาพบำบัดด้านการเดินนั้นมักเป็นผู้ป่วยที่มีอาการสืบเนื่องมาจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคอัมพาตครึ่งซีก โรคหลอดเลือดสมอง อาการบาดเจ็บของไขสันหลัง โรคอัมพฤกษ์ โรคอัมพาต (ข้อมูลเพิ่มเติมของความแตกต่างระหว่างโรคอัมพฤกษ์และโรคอัมพาต) เป็นต้น เนื่องจากผู้ป่วยจากโรคดังกล่าวมักจะเป็นผู้ป่วยติดเตียง ทำให้ความสามารถในการเดินถดถอยลง

   สำหรับขั้นตอนการทำกายภาพบำบัดด้านการเดินนั้นจะเริ่มตั้งแต่ตอนที่ผู้ป่วยยังนอนติดเตียง เพราะการทำกายภาพบำบัดจะรอเวลาไม่ได้ ยิ่งเริ่มฝึกเร็ว ยิ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยในการฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย ซึ่งสามารถสรุปขั้นตอนโดยสังเขปได้ดังนี้  

ขั้นตอนการทำกายภาพบำบัดขา/การเดิน
   • ฝึกบริหารขา - สามารถทำได้ตั้งแต่ผู้ป่วยยังนอนติดเตียงอยู่โดยผู้ดูแลจะช่วยยกขาผู้ป่วยขึ้นลงหรือเป็นไปตามท่ากายบริหารต่าง ๆ เพื่อบริหารกล้ามเนื้อในส่วนที่มีความสำคัญในการยืนและเดิน

   • ทรงตัว - ขั้นตอนนี้จะเริ่มทำควบคู่ไปกับการฝึกในข้อที่ 1 เมื่อผู้ป่วยสามารถลุกขึ้นนั่งได้แล้ว ผู้ดูแลจะช่วยพยุงให้ผู้ป่วยลุกขึ้นนั่งศีรษะตรงมือยันพื้น เพื่อกระตุ้นระบบการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ก่อนจะนำไปสู่การฝึกยืนในขั้นตอนต่อไป

   • ยืน - เมื่อผู้ป่วยสามารถนั่งศีรษะตรงได้แล้วจะเลื่อนมาสู่ขั้นตอนของการฝึกยืนหรือฝึกทรงตัว ในขั้นตอนนี้ผู้ป่วยจะต้องฝึกยืนด้วยราวพยุงคู่ ผู้ป่วยบางรายที่นอนติดเตียงเป็นเวลานานอาจต้องฝึกยืนทรงตัวด้วยบนเครื่องช่วยยืน (Tilt table) ที่สามารถปรับองศาจากการนอนเป็นการยืนได้ ลดโอกาสเกิดอาการแทรกซ้อนจากการเปลี่ยนท่า

   • เดิน - ขั้นตอนนี้จะเริ่มฝึกเมื่อผู้ป่วยสามารถยืนทรงตัวได้ดีแล้วซึ่งในส่วนนี้อุปกรณ์ช่วยพยุงต่าง ๆ จะเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มความปลอดภัยในการฝึกเดินของผู้ป่วย

   ในส่วนของอุปกรณ์ช่วยเดินหรืออุปกรณ์ฝึกเดิน จะมีหลากหลายประเภทด้วยกันซึ่งในบทความนี้จะขอยกตัวอย่างอุปกรณ์ช่วยเดินหรืออุปกรณ์ฝึกเดินมีล้อที่สามารถช่วยพยุงให้ผู้ป่วยยืนและเดินได้ด้วยตนเอง

อุปกรณ์ช่วยเดินฝึกเดินอุปกรณ์ช่วยเดินฝึกเดิน

   อุปกรณ์ช่วยเดินหรืออุปกรณ์ฝึกเดินมีล้อเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยพยุงให้ผู้ป่วยสามารถทรงตัวยืนได้ เนื่องจากอุปกรณ์มีส่วนช่วยพยุงบริเวณอก เอว และสะโพก จึงเพิ่มความปลอดภัยและป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยล้มในระหว่างการฝึกเดินได้ นอกจากนี้อุปกรณ์ฝึกเดินมีล้อยังช่วยให้ผู้ป่วยสามารถฝึกเดินได้โดยไม่ต้องมีผู้ดูแลมาช่วยพยุงอยู่ตลอดเวลาจึงสร้างความมั่นใจในการเดินให้กับผู้ป่วย


สรุป
   หากจะถามว่าอุปกรณ์ช่วยเดินช่วยในการฝึกกายภาพขาอย่างไร? ก็คงจะกล่าวได้ว่าอุปกรณ์ช่วยเดินหรือฝึกเดินจะมีบทบาทในแง่ของการเพิ่มความปลอดภัยและความมั่นใจในการฝึกเดินให้กับผู้ป่วย รวมไปถึงช่วยผู้ดูแลในการพยุงผู้ป่วยเพื่อฝึกเดิน อย่างไรก็ดีเราควรเลือกอุปกรณ์ช่วยเดินหรือฝึกเดินให้เข้ากับผู้ป่วยในแต่ละราย เพื่อให้การทำกายภาพขาเกิดผลลัพธ์ให้มากที่สุด

ที่มา :
[1] https://www.bangkokhospital.com/
[2] www.flaticon.com