กายบริหารฟื้นฟูแขนขาอ่อนแรง

                                                      

               แขนขาอ่อนแรงเป็นปัญหาสุขภาพอย่างหนึ่งของผู้ป่วย อาจทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถหยิบจับของหรือลุกขึ้นเดินได้เหมือนอย่างปกติ ซึ่งสาเหตุของปัญหานี้มีหลากหลายด้วยกัน อาทิ อุบัติเหตุที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บของเส้นประสาท โรคหลอดเลือดสมอง(stroke)  ภาวะผู้ป่วยติดเตียงจากโรคเรื้อรัง เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อแขนขาไม่ได้ใช้งานหรือไม่สามารถใช้งานได้ จนเกิดกล้ามเนื้อลีบ เกิดภาวะข้อติดได้

             ดังนั้น เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้น ผู้ป่วยต้องหมั่นบริหารข้อและกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการเพิ่มความสามารถในการใช้งานของกล้ามเนื้อให้ใกล้เคียงกับภาวะปกติให้มากที่สุด

**หากผู้ป่วยไม่สามารถปฏิบัติท่าเหล่านี้ด้วยตนเองได้(active exercise) ให้ผู้ดูแลช่วยขยับท่าต่างๆแทนได้(passive exercise)**

**กรณีไม่สามารถทำท่านั่งได้ ให้ทำท่านอนหงายแทน**

ท่าที่ 1 : ยกแขนข้างใดข้างหนึ่งไปข้างหน้าช้าๆ จนถึงจุดที่รู้สึกตึงหรือแขนแนบหู จากนั้นค่อยๆลดแขนลงมาที่ตำแหน่งเดิมข้างลำตัว

ท่าที่ 2 : กางแขนข้างใดข้างหนึ่งออกจากลำตัวไปด้านข้างช้าๆ จนถึงระดับหัวไหล่ แล้วค่อยๆคว่ำมือลง แล้วยกแขนต่อจนแขนแนบหู จากนั้นลดแขนลงมาช้าๆกลับมาที่ตำแหน่งเดิม

ท่าที่: เหยียดแขนสุด แล้วกางแขนไปด้านข้าง จากนั้นงอศอกสุดจนมือแตะหัวไหล่ ทำข้างละ 10 ครั้ง วันละ 1-2รอบ

ท่าที่: นอนหงายเหยียดแขนคว่ำมือแนบลำตัว จากนั้นงอศอกขึ้น  แล้วค่อยๆหมุนข้อมือหงายมือขึ้น

ท่าที่ : นอนหงายเหยียดแขนแนบลำตัว แล้วงอศอกขึ้น กระดกข้อมือขึ้นลงและกำแบนมือ

ท่าที่ 6 : นอนหงายขาเหยียดตรง แล้วยกขาข้างใดข้างหนึ่งขึ้นขณะเหยียดเข่า จากนั้นค่อยๆลดขาลงมาที่จุดเดิม

ท่าที่ : นอนหงายเหยียดขาตรง แล้วยกขาขึ้นข้างใดข้างหนึ่งขณะงอเข่า จากนั้นค่อยๆลดขาลงมาที่จุดเดิม

ท่าที่ : นอนหงายเหยียดขาตรง กางขาข้างใดข้างหนึ่งออกจากลำตัวไปด้านข้างขณะเหยียดเข่า จากนั้นหุบขากลับเข้าที่จุดเดิม

ท่าที่ : นอนหงาย ชันเข่าขึ้น แล้วหมุนข้อสะโพกเข้าออก ทำข้างละ 10 ครั้ง วันละ 1-2 รอบ

ท่าที่ 10 : นอนหงาย กระดกข้อเท้าขึ้นลง

ท่าที่ 11 : นอนหงาย ชันเข่าขึ้นทั้งสองข้าง แล้วยกก้นลอยจากพื้นค้างไว้ 10 วินาที หายใจเข้าออกปกติ จากนั้นผ่อนตัวลง ทำ 10 ครั้ง

อุปกรณ์ช่วยเดิน ฟื้นฟูขาอ่อนแรง

Dynamico

Grillo

อุปกรณ์ช่วยพยุงแขน ฟื้นฟูแขนอ่อนแรง

Armon

ที่มา:

[1] https://www.thonburihospital.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD.html

[2]

https://www.google.co.th/url?sa=i&url=https%3A%2F%2Fphartrillion.com%2Fcategory%2Fpatient%2F&psig=AOvVaw1mdJ36cfi5NbSC5st-iXQ8&ust=1600837064349000&source=images&cd=vfe&ved=0CA0QjhxqFwoTCIDd8oL9--sCFQAAAAAdAAAAABAN

[3] https://www.google.co.th/url?sa=i&url=http%3A%2F%2Fwww.phyathai-sriracha.com%2Fpytsweb%2Fmodules%2Fdeppage%2Fsurgery-bone-page2.php&psig=AOvVaw1mdJ36cfi5NbSC5st-iXQ8&ust=1600837064349000&source=images&cd=vfe&ved=0CA0QjhxqFwoTCIDd8oL9--sCFQAAAAAdAAAAABAS