กายภาพบำบัดสำคัญอย่างไร ทำไมผู้ป่วยต้องทำ?

   หลาย ๆ ท่านอาจจะมีคำถามอยู่ในใจ เมื่อผู้ป่วยพักฟื้นหรือเพิ่งออกจากโรงพยาบาล คุณหมอมักจะแนะนำให้ทำกายภาพบำบัดหรือบางท่านอาจมีนัดทำกายภาพกับนักกายภาพต่อ การทำกายภาพบำบัดนั้นสำคัญอย่างไร? จำเป็นต้องทำกายภาพไหมและต้องทำกายภาพนานแค่ไหน? ถ้าไม่ทำได้ไหม? เรามาหาคำตอบกัน

   • กายภาพบำบัดคืออะไร?
   • กายภาพบำบัดสำคัญอย่างไร?
   • ระยะเวลาในการทำกายภาพบำบัดใช้เวลาเท่าใด?

กายภาพ

รู้จักการทำกายภาพบำบัด
   กายภาพบำบัด (Physical Therapy) คือ ศาสตร์ฟื้นฟูสุขภาพในการช่วยเหลือผู้ป่วยเพื่อบำบัด ป้องกัน แก้ไข และฟื้นฟูการเสื่อมสมรรถภาพหรือความพิการของร่างกายหรือจิตใจ ด้วยการออกกำลังกายและใช้อุปกรณ์พิเศษเพื่อรักษาผู้ป่วยให้กลับมาเคลื่อนไหวตามปกติได้มากที่สุด

กายภาพบำบัดสำคัญอย่างไร?
   การทำกายภาพบำบัดจะทำให้ร่างกายของผู้ป่วยฟื้นฟู สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเองได้ดีมากยิ่งขึ้น และยังป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาอีกด้วย ซึ่งสิ่งสำคัญในการทำกายภาพบำบัดคือการทำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายและสมองส่วนที่สั่งการเกิดการเรียนรู้การเคลื่อนไหวและกล้ามเนื้อมีความคุ้นชิน

จุดประสงค์ของการทำกายภาพบำบัด
   1. ลดความเจ็บปวด
       การบำบัดอาการเจ็บปวดวิธีหนึ่ง คือ การทำกายภาพบำบัดโดยจะสามารถช่วยให้อาการเหล่านี้ลดลงได้ โดยอาจใช้วิธีการกระตุ้นไฟฟ้า การประคบเย็นบริเวณแผลเพื่อลดอักเสบ หรือการใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดเพื่อลดปวด ลดการอักเสบ บวม แดง

   2. เพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อ
       การไม่ได้เคลื่อนไหวเป็นระยะเวลานานอาจะทำให้บริเวณข้อต่าง ๆ เกิดการยึดติด ไม่สามารถงอหรือเคลื่อนไหวได้ปกติ ที่พบบ่อยคือเกิดจากอาการปวดที่ส่งผลให้ผู้ป่วยเลี่ยงที่จะขยับข้อส่วนนั้น ๆ การทำกายภาพจะช่วยลดการยึดติดของข้อทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาเคลื่อนไหวข้อบริเวณส่วนต่าง ๆ ได้ปกติ

   3. เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
       การเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลอาจทำให้ไม่ได้ขยับร่างกายหรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นเวลานาน ส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นฝ่อลีบ การทำกายภาพบำบัดจะฟื้นฟูกำลังกล้ามเนื้อ เพื่อให้ผู้ป่วยมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ

ใครที่ต้องทำกายภาพบำบัด
   1. ผู้ป่วยระบบประสาท เช่น ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต ผู้ป่วยพาร์กินสัน ผู้ป่วยเด็กสมองพิการตั้งแต่กำเนิด เป็นต้น
   2. ผู้ป่วยระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น ปวดหลังหรือปวดคอ เส้นประสาทถูกกดทับ ข้อไหล่ติด ปวดกล้ามเนื้อจากการทำงาน กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง กลุ่มผู้ป่วยกระดูกหัก ใส่เฝือก/ดามเหล็ก เป็นต้น
   3. ผู้ป่วยระบบทรวงอก ปอด และหัวใจ เช่น ผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด ผู้ป่วยปอดอักเสบ เป็นต้น
   4. อื่น ๆ เช่น ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะหรือประสบอุบัติเหตุ ป่วยเป็นโรคทางพันธุกรรม เป็นต้น

ระยะเวลาในการทำกายภาพบำบัดใช้เวลาเท่าใด?
   ระยะเวลาในการทำกายภาพบำบัดของผู้ป่วยแต่ละรายจะไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย อาการความเจ็บป่วย วิธีการการรักษา สภาพจิตใจ ความสม่ำเสมอในการทำกายภาพบำบัด

อุปกรณ์ช่วยเดินสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการฝึกเดิน ทำให้การฝึกเดินง่ายและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

กายภาพบำบัด

ที่มา :
[1] shorturl.asia/snbfu
[2] shorturl.asia/CLdfl
[3] https://hd.co.th/what-is-physical-therapy
[4] https://srth.moph.go.th/health_rcn/pt/whatPT.htm
[5] https://www.medicalnewstoday.com/articles/160645#what_to_expect_during_physical_therapy