โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's Disease) เป็นสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมที่เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้มากในประเทศไทย ซึ่งเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นช้า ๆ กว่าจะรู้ตัวเซลล์ประสาทสมองก็โดนทำลายไปจำนวนมากแล้ว ส่งผลให้ความสามารถของสมองโดยเฉพาะส่วนที่ควบคุมความคิด ความทรงจำ และการใช้ภาษา ลดลง อาการของโรคจะเริ่มจากการหลงลืมที่ไม่รุนแรงจนแย่ลงเรื่อย ๆ ถึงขั้นไม่สามารถสนทนาโต้ตอบหรือมีการตอบสนองต่อสิ่งรอบข้าง ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างร้ายแรง โดยส่วนใหญ่จะพบในผู้สูงอายุ โรคอัลไซเมอร์มีระยะเวลาก่อโรคนาน 15-20 ปีกว่าจะมีอาการสมองเสื่อมชัดเจน การแสดงอาการของโรคจะเป็นไปอย่างช้า ๆ เริ่มต้นจากไม่มีความผิดปกติเรื่องความจำ และเริ่มมีอาการความจำถดถอย ซึ่งการที่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการความจำถดถอยเกิดขึ้นเป็นผลมาจากการสะสมของสาร เบต้าอมีลอยย์ที่ทำลายเซลล์สมองมาแล้ว 10-15 ปี ต่อมาผู้ป่วยจึงจะมีอาการมากขึ้นเรื่อย ๆ จนมีอาการสมองเสื่อมชัดเจน ทำให้การวินิจฉัยและรักษาทำได้ไม่ทันท่วงที ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากความเพิกเฉยคิดว่าผิดปกติทางความจำเล็กน้อยไม่ได้เป็น อาการเริ่มต้นของโรคสมองเสื่อม และเข้าใจผิดที่คิดว่าโรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่เกิดในผู้สูงอายุ ไม่สามารถป้องกันหรือรักษาให้หายขาดได้และต้องทานยาอย่างต่อเนื่องไปตลอด ชีวิต ดังนั้นเราควรสังเกตตัวเองหรือบุคลใกล้ชิดว่าเริ่มมีอาการหลงๆ ลืมๆ ผิดปกติหรือไม่

อาการทั่วไปของโรคอัลไซเมอร์อาจแบ่งคร่าวๆ ได้เป็นสามระยะ ได้แก่

        • ระยะแรก ผู้ป่วยจะมีความจำถดถอยจนตัวเองรู้สึกได้ ชอบถามซ้ำ พูดซ้ำๆ เรื่องเดิม สับสนทิศทาง เริ่มเครียด อารมณ์เสียง่ายและซึมเศร้า แต่ยังสื่อสารและทำกิจวัตรประจำวันได้ ระยะนี้เป็นระยะที่คนรอบข้างยังสามารถดูแลได้

        • ระยะกลาง ผู้ป่วยมีอาการชัดเจนขึ้น ความจำแย่ลงอีก เดินออกจากบ้านไปโดยไม่มีจุดหมาย พฤติกรรมเปลี่ยนไปมาก เช่น จากที่เป็นคนใจเย็นก็กลายเป็นหงุดหงิดฉุนเฉียว ก้าวร้าว พูดจาหยาบคาย หรือจากที่เป็นคนอารมณ์ร้อนก็กลับกลายเป็นเงียบขรึม และเมื่อเวลาผ่านไป ผู้ป่วยจะเริ่มมีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ชงกาแฟไม่ได้ ใช้รีโมททีวีหรือโทรศัพท์มือถือไม่ได้ คิดอะไรที่ไม่ถูกต้อง ไม่อยู่ในโลกของความจริง เช่น คิดว่าจะมีคนมาฆ่า มาขโมยของ คิดว่าคู่สมรสนอกใจ ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอาการที่ยากต่อการดูแลและเข้าสังคม

        • ระยะท้าย ผู้ป่วยอาการแย่ลง ตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างน้อยลง สุขภาพทรุดโทรมลงคล้ายผู้ป่วยติดเตียง รับประทานได้น้อยลง การเคลื่อนไหวน้อยลงหรือไม่เคลื่อนไหวเลย ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ สมองเสื่อมเป็นวงกว้าง ไม่พูดจา ภูมิคุ้มกันอ่อนแอซึ่งมักนำไปสู่การติดเชื้อและเสียชีวิตในที่สุด โดยระยะเวลาทั้งหมดตั้งแต่แรกวินิจฉัยจนเสียชีวิตเฉลี่ยประมาณ 8-10 ปี

การรักษาอัลไซเมอร์

        ปัจจุบันโรคอัลไซเมอร์ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ มีเพียงการใช้ยารักษาและการจัดการดูแลที่จะช่วยบรรเทาอาการด้านความคิดและพฤติกรรมของผู้ป่วยได้เพียงชั่วคราว หรืออาจช่วยให้พัฒนาการของโรคช้าลงได้ในบางราย การที่ผู้ป่วยได้ฝึกให้ตนเองมีความกระฉับกระเฉงด้านร่างกาย ความคิด และมีการเข้าสังคมเป็นประจำและสม่ำเสมอ จะช่วยให้อาการสมองเสื่อมของผู้ป่วยเกิดช้าลงได้ ดังนั้น ถ้าพบว่าผู้ป่วยเข้าขั้นภาวะสมองเสื่อมในระยะแรก ควรให้ผู้ป่วยได้มีงานอดิเรกทำในชีวิตประจำวัน เช่น การอ่านหนังสือ เล่นเกมที่อาศัยการคิดคำนวณ การพบปะพูดคุยเข้าสังคม การเขียนเพื่อสุนทรียภาพของตนเอง การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ การเล่นดนตรี เล่นเทนนิส หรือการพูดคุยเกี่ยวกับความทรงจำเก่าๆก็เป็นสิ่งที่จำเป็นเช่นกัน การให้ผู้ป่วยได้ใช้อุปกรณ์ทบทวนความคิด หรือพาผู้ป่วยไปในสถานที่เก่าที่เขาเคยอยู่ ก็เป็นอีกทางที่ช่วยผู้ป่วยได้ โดยวันนี้จะมาแนะนำเกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่สามารถทำได้พร้อมกับการออกกำลังกายไปในตัว

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมของ Bilk Around ได้ที่https://www.tht.co.th/index.php/product/alzheimer-device/bike-around.html

        

        จักรยานเพื่อผู้ป่วยอัลไซเมอร์ (Bilk Around) จัดเป็นอุปกรณ์ที่สามารถช่วยผู้ป่วยอัลไซเมอร์ในการเพิ่มกิจกรรมให้สมอง เปรียบเสมือนจักรยานที่จะพาผู้ใช้ไปยังสถานที่ต่าง ๆ ตามต้องการด้วยความช่วยเหลือด้านซอฟต์แวร์จาก Google Street View ดังนั้น อุปกรณ์ตัวนี้จะสามารถพาผู้ใช้ไปยังสถานที่เดิมๆ ได้ทุกที่เพื่อช่วยย้อนความทรงจำของพวกเขา พร้อมทั้งมีที่จับและคันถีบที่เหมือนจักรยานจริง ทำให้ผู้ใช้ได้ออกกำลังกายไปในตัว ประโยชน์ของ BikeAround นี้จึงสามารถช่วยให้ผู้ใช้ได้ฝึกสมองและได้ทำกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการอยู่เฉยๆ ของผู้ป่วยและชะลอการเสื่อมสภาพของสมอง รวมทั้งช่วยย้อนความทรงจำได้ 

ที่มา : [1] https://www.bangkokhospital.com/th/disease-treatment/new-technique-for-alzheimer-diagnosis         

          [2] https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/september-2018/alzheimer-disease