คุณยังไม่มีสินค้าในรถเข็น
4 วิธีบรรเทากล้ามเนื้อเกร็งในผู้ป่วยอัมพาต
วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2019 11 นาฬิกา 41 นาที 00 วินาที Asia/Bangkok
4 วิธีบรรเทากล้ามเนื้อเกร็งในผู้ป่วยอัมพาต
อาการเกร็งในผู้ป่วยอัมพาตจะส่งผลทำให้เกิดการฟื้นฟูกำลังกล้ามเนื้อและทักษะการใช้ชีวิตประจำวันต่าง ๆ ได้ลดลง ดังนั้นวันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการบรรเทาและจัดการกับการเกร็งกล้ามเนื้อกันค่ะ
1. ยืดกล้ามเนื้อ
ข้อที่ผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ โดยเฉพาะ สะบัก ไหล่ ข้อมือ นิ้วมือ สะโพกด้านนอกและด้านหลัง กล้ามเนื้อน่อง ควรจะยืดเพื่อป้องกันกล้ามเนื้อหดสั้นและข้อยึด โดยเริ่มยืดในจุดที่เรารู้สึกกล้ามเนื้อเริ่มมีแรงต้านค้างไว้ 10 นาที ถ้าความตึงตัวลดลงแล้วจึงขยับต่อไปเรื่อย ๆ ค้างไว้จุดละ 10 วินาที ทำช้า ๆ ค้างไว้รวมประมาณ 30 วินาที จนถึง 2 นาที
2. การจัดท่านั่ง นอน ยืน ที่ถูกต้อง
ควรจัดท่านอนให้อยูในท่าตรงกันข้ามกับการเกร็งของผู้ป่วย เช่น ถ้าผู้ป่วยมีความผิดปกติไหล่หมุนเข้าใน ศอกงอ เราก็จัดให้ไหล่หมุนออกและเหยียดศอก เพื่อลดการหดสั้นและเกร็งตัว ในกรณีนั่งและยืนควรจัดให้อยู่ในแนวลำตัวที่ถูกต้อง เพราะการจัดแนวที่ถูกต้องจะใช้กำลังกล้ามเนื้อน้อยที่สุดโดยมีประสิทธิภาพที่สุด
3. การฝึกเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ
ควรจะให้การฝึกที่ถูกต้องเหมาะสมทั้งท่าและแรงต้าน การออกกำลังกายบางท่า เช่น การชักรอกที่มีน้ำหนัก บางคนคิดว่าจะช่วยเพิ่มกำลังแขน แต่การทำแบบนั้นทำให้ไหล่บาดเจ็บและเพิ่มการเกร็งตัวได้ เพราะการที่ผู้ป่วยพยายามออกแรงมากจนเกินไปจะช่วยกระตุ้นให้เกิดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อมากยิ่งขึ้น
4. ควรใช้เครื่องช่วยในขณะที่กล้ามเนื้อยังทำงานได้ไม่ดี
การใช้เครื่องช่วยจะลดความพยายามที่มากเกินไปจนทำให้เกิดกล้ามเนื้อเกร็งได้ เช่น ในกรณีข้อเท้าใช้เป็นสายรัดที่ใช้ดึงข้อเท้าขึ้นหรือใช้ที่ดามข้อศอกในเวลาเคลื่อนไหวแขน ถ้าผู้ป่วยมีแรงมากขึ้นแล้วอาการเกร็งจะค่อย ๆ ลดลง จนอยู่ในตำแหน่งปกติได้
อ้างอิง
[1] คู่มือกายภาพบำบัด ผู้ป่วยอัมพาดครึ่งซีก ผู้เขียน วิยะดา ศักดิ์ศรีและสุรัตน์ ธนานุภาพไพศาล